วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 (2)

สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น
3).ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง

จุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity : CG)
หากสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดุลได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง
จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน
จุดศูนย์กลางมวล (Center of Mass : CM)
เป็นจุดที่เสมือนเป็นที่รวมมวลของวัตถุทั้งก้อนนั้น โดยที่ CM อาจอยู่นอกเนื้อวัตถุนั้นได้ เช่น รูปโดนัท
โดยปกติวัตถุบางชนิดมีมวลภายในหนาแน่นไม่เท่ากันตลอดทั้งเนื้อสาร CM จึงเป็นเสมือนที่เป็นจุดรวมมวลของวัตถุทั้งก้อน...อ่านต่อ...

4).เสถียรภาพของสมดุล

เสถียรภาพของสมดุล
      เสถียรภาพของสมดุลสามารถแบ่งได้ดังนี้
   1.สมดุลเสถียร  คือสภาพสมดุลของวัตถุซึ่งมีลักษณะที่วัตถุสามารถกลับสู่สภาพสมดุลที่ตำแหน่งเดิมได้ โดยเมื่อแรงกระทำกับวัตถุที่อยู่ในสมดุลเสถียร จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่สูงกว่าระดับเดิม แต่เมื่อเอาแรงออก วัตถุจะกลับสภาพเดิม
   2. สมดุลสะเทิน  คือสภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะสามารถคงสภาพสมดุลอยู่ได้ โดยมีตำแหน่งสมดุลที่เปลี่ยนไป
   3. สมดุลไม่เสถียร  คือ สภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้...อ่านต่อ...

5).การนำหลักสมดุลไปประยุกต์

หลักการสมดุลมีใช้มากมายในชีวิตประจำวัน  ในที่นี้จะกล่าวถึงการนำหลักการสมดุลไปใช้กับเครื่องกลอย่างง่าย เช่น  คาน  คีมตัดลวด  ไขควง  ล้อและเพลา  และกว้าน  เป็นต้น  เครื่องกลอย่างง่ายเหล่านี้สามารถผ่านแรงที่กระทำได้อย่างไร  สามารถเข้าใจได้จากการหาขนาดของแรงที่กระทำ ณ จุดต่างๆ ตามหลักการของสมดุลในทุกกรณี
ตัวอย่าง  8.5  ในการดึงน้ำขึ้นจากบ่อลึกด้วยล้อและเพลาดังรูป ล้อมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  36  เซนติเมตร...อ่านต่อ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น